หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

Bachelor of Science Program in Computer Science

ชื่อย่อ
วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2565
อัปเดต
15/09/2024
จำนวนการรับนักศึกษาตามแผน
60 คน
คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
-แผนการเรียน
ไม่จำกัดแผนการเรียน
-ผลการเรียนเฉลี่ย
ไม่จำกัดเกรดเฉลี่ย
-ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
-
เกณฑ์การคัดเลือก
สัมภาษณ์
ค่าเทอม
10,500 บาท
ระยะเวลาเรียน
8 ภาคการศึกษา
จำนวนหน่วยกิต
ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต
ประเภทการศึกษา
ภาคปกติ
ทุนการศึกษา
กองทุนยืมเงินค่าเทอมแรกเข้า
มี
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
มี
ทุนการศึกษาระหว่างเรียน
มี
ทุนสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ
มี
หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
มี
การประกันคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับอาเซียน (AUN QA)

จุดเด่นของหลักสูตร :

  • หลักสูตรส่งเสริมให้นักศึกษามีการพัฒนาตนเองในหลาย ๆ ด้าน เช่น งานวิจัยระดับสูง การพัฒนาด้านภาษา
  • หลักสูตรมีสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้
  • หลักสูตรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริงจากโครงการการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL)
  • หลักสูตรมีผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยการันตีจาก ผลงานวิจัย ระดับการศึกษา และการได้มาซึ่งตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • หลักสูตรมีกิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ระดับชั้นหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ อบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรหรือจังหวัดใกล้เคียง เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ศึกษาดูงานสถานประกอบการโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเสริมทักษะด้านวิชาการสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • กิจกรรมทวนสอบผลการเรียนรู้ระดับชั้นปี จะมีการการสอบ 2 ครั้งต่อปี โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 4 สอบประมวลความรู้ตามผลลัพ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใคร :

  • ผู้ที่อยากประกอบอาชีพเป็นนักพัฒนาโปรแกรม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • ผู้ที่อยากมีรายได้สูง และได้งานทำ 100%
  • ผู้อยากมีความรู้ ทักษะ ด้านคอมพิวเตอร์ขั้นสูง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานและปฏิบัติงานจริง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

เส้นทางอาชีพ :

  • นักพัฒนาโปรแกรม
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  • นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบ
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
  • นักทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • ผู้ช่วยนักวิจัย
  • ผู้ประกอบการอิสระ/ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

  1. มีความรู้เชิงทฤษฎีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และความสามารถเชิงปฏิบัติ โดยมีความรู้ในศาสตร์ตพอที่จะสามารถพัฒนางานทางด้านคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ/หรือศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป
  2. มีความใฝ่รู้ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการสื่อสาร และสามารถทำงานเป็นกลุ่ม
  3. ความรู้ ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ และพัฒนางานทางด้านคอมพิวเตอร์
  4. มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
  5. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง :

ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง
PLO1 ผู้เรียนมีความตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
PLO2 ผู้เรียนสามารถปรับตัวเพื่อให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานเป็นทีมได้
PLO3 ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาไทย ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนได้
PLO4 ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้
PLO5 ผู้เรียนสามารถอธิบายโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
PLO6 ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์รวมถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
PLO7 ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ดิจิทัล รวมถึงความรู้พื้นฐานด้านการจัดการเครือข่ายเบื้องต้น
PLO8 ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบ แก้ไขปัญหาด้านคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานเป็นกลุ่ม และสามารถใช้ภาษาต่างประเทศเฉพาะทางได้
PLO9 ผู้เรียนสามาถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทางคอมพิวเตอร์ตามหลักจริยธรรมและกฏหมายด้านสังคมไซเบอร์
PLO10 ผู้เรียนสามารประยุกต์ใช้หลักทฤษฎีด้านคอมพิวเตอร์และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
PLO11 ผู้เรียนสามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานได้จริง พัฒนานวัตกรรม บริหารจัดการโครงการด้านซอฟต์แวร์ และสื่อประสมในหลากหลายรูปแบบ
PLO12 ผู้เรียนสามารถทดสอบรวมถึงประเมินคุณภาพของซอฟต์แวร์
PLO13 ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และประยุกต์วิธีการด้านคอมพิวเตอร์ในการแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพได้
PLO14 ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีของนักศึกษา :

ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และนักศึกษาจะได้รับความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงความรู้พื้นฐานด้านการจัดการเครือข่ายเบื้องต้นและทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ

ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถออกแบบ แก้ไขปัญหาด้านคอมพิวเตอร์ และสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ โดยนำหลักทฤษฎีทางด้านคอมพิวเตอร์ สถิติ ฐานข้อมูล โครงสร้างข้อมูล การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ ทักษะภาษาต่างประเทศเฉพาะทาง รวมถึงการดำเนินงานตามหลักจริยธรรมและกฏหมายในยุคดิจิทัล

ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานได้จริง พัฒนานวัตกรรม บริหารจัดการโครงการด้านซอฟต์แวร์ สื่อประสมในหลากหลายรูปแบบ สามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และประยุกต์วิธีการด้านคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา เพื่อรองรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสหกิจศึกษา รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM

ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสหกิจศึกษา โดยได้รับการรับรองจากผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะการปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1 ด้าน (เพิ่มขึ้นจากชั้นปีที่ 3)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมินทร์ ตันอุตม์
อาจารย์ยุติธรรม ปรมะ
อาจารย์ ดร.นุจรินทร์ ปทุมพงษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรินทร์ เพชรไทย
อาจารย์กีรศักดิ์ พะยะ

บุคลากรสายสนับสนุน

โครงสร้างหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

    1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต

    2) กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองและพลโลก 6 หน่วยกิต

    3) กลุ่มวิชาเทคโนโลยี 6 หน่วยกิต

    4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสุขภาพ 6 หน่วยกิต

    และเลือกเรียนในกลุ่มวิชา 1.1 – 1.4  3 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต

    1) กลุ่มวิชาแกน 12 หน่วยกิต

    2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ 36 หน่วยกิต

    3) กลุ่มวิชาเอกเลือก 24 หน่วยกิต

    4) กลุ่มวิชาทักษะภาษาและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต

    5) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ตัวอย่างแผนการเรียน

  • ชั้นปีที่ 1

    ภาคเรียนที่ 1

    ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (3 นก.)

    พลเมืองไทยในสังคมพลวัต (3 นก.)

    ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล สารสนเทศ และสื่อ (3 นก.)

    วิทยาศาสตร์กับชีวิต (3 นก.)

    อัลกอริทึมและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    ภาคเรียนที่ 2

    ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทางวิชาการ (3 นก.)

    การจัดการแบบบูรณาการ (3 นก.)

    เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (3 นก.)

    ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์ (3 นก.)

    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล (3 นก.)

    หลักการภาษาโปรแกรม (3 นก.)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 1 (2 นก.)

  • ชั้นปีที่ 2

    ภาคเรียนที่ 1

    ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (3 นก.)

    การคิดเชิงคณิตศาสตร์กับการตัดสินใจ (3 นก.)

    ระบบฐานข้อมูล (3 นก.)

    ระบบปฏิบัติการ (3 นก.)

    กฎหมายและจริยธรรมในยุคดิจิทัล (3 นก.)

    การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (3 นก.)

    แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1 (3 นก.)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 2 (2 นก.)

    ภาคเรียนที่ 2

    การพัฒนาสุขภาวะเชิงบูรณาการ (3 นก.)

    การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ (3 นก.)

    โครงสร้างข้อมูล (3 นก.)

    ภาษาอังกฤษสำหรับคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    การเขียนโปรแกรมเชิงวิชวล (3 นก.)

    หลักสถิติสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 3 (2 นก.)

  • ชั้นปีที่ 3

    ภาคเรียนที่ 1

    วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (3 นก.)

    เทคโนโลยีไร้สายและการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่งผ่านอินเทอร์เน็ต (3 นก.)

    นวัตกรรมและสื่อประสมด้านคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    การพัฒนาฐานข้อมูลบนเว็บ (3 นก.)

    คณิตศาสตร์ดิสครีตสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางวิทยาการคอมคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 4 (2 นก.)

    ภาคเรียนที่ 2

    การประมวลภาพเชิงดิจิทัล (3 นก.)

    การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (3 นก.)

    การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (3 นก.)

    หัวข้อเฉพาะเรื่องทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

  • ชั้นปีที่ 4

    ภาคเรียนที่ 1

    โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ (3 นก.)

    การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ (2 นก.)

    ภาคเรียนที่ 2

    การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ (5 นก.)

ความภาคภูมิใจของเรา