หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาสาธารณสุข เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรม ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และมีจิตสำนึกในการรับใช้ท้องถิ่นและประเทศชาติ

ชื่อย่อ
วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2564
อัปเดต
22/06/2024
จำนวนการรับนักศึกษาตามแผน
30 คน
คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
-แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
-ผลการเรียนเฉลี่ย
2.00
-ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
เกณฑ์การคัดเลือก
สัมภาษณ์
ค่าเทอม
8,500 บาท
ระยะเวลาเรียน
8 ภาคการศึกษา
จำนวนหน่วยกิต
ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
ประเภทการศึกษา
ภาคปกติ
ทุนการศึกษา
มี
กองทุนยืมเงินค่าเทอมแรกเข้า
มี
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
มี
ทุนการศึกษาระหว่างเรียน
มี
ทุนสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ
มี
หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
มี
การประกันคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับอาเซียน (AUN QA)

จุดเด่นของหลักสูตร :

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ความเจ็บป่วย ดูแลสุขภาพผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ครอบคลุมมิติงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อผลิตบุคลากรสาธารณสุขให้เป็นผู้นำวิชาการด้านสาธารณสุข และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยมีการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือสถานศึกษากับประสบการณ์ทำงานในแหล่งเรียนรู้ในสภาพจริงที่ได้รับการออกแบบไว้ในหลักสูตรอย่างเป็นระบบเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพมีสมรรถนะสูงสามารถปฏิบัติงานได้จริงและตอบสนองตลาดแรงงานของประเทศ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใคร :

  • ผู้ที่ชอบทำงานชุมชนที่มีใจอยากช่วยทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพในระดับชุมชน

เส้นทางอาชีพ :

  • นักสาธารณสุขหรือนักวิชาการสาธารณสุข ในหน่วยงานทางสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
  • นักวิชาการสุขาภิบาล
  • นักบริหารโครงการด้านสุขภาพของหน่วยงานราชการและเอกชน
  • นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัยด้านสุขภาพหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
  • นักพัฒนาสุขภาพขององค์กรพัฒนาเอกชน
  • อาชีพอิสระด้านการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

  1. มีความรู้ และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค การตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การอาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม
  2. มีความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนได้
  3. มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง :

ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง
นักศึกษามีทักษะทางสาธารณสุขและจัดกิจกรรมด้านสุขภาพได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีของนักศึกษา :

1. กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในสังคมด้วยความเต็มใจ อดทน มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ พร้อมเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ลอกเลียนผลงานและไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่ละเมิด ลิขสิทธิ์และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน

2. อธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระด้านสาธารณสุขได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

3. วิเคราะห์สังเคราะห์นำเสนอข้อมูลด้านสาธารณสุขทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการและสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นได้

4. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาไปใช้ในการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุข ตามหลักวิชาการ อย่างเป็นองค์รวมเพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ ภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณ วิชาชีพ

5. การทำงานเป็นทีม มีทักษะการเป็นภาวะผู้นำและสมาชิก สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสามัคคีและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

6. สามารถผลิตสื่อสารสนเทศที่มีเหมาะสมเพื่อใช้ในการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจาย์วสุนธรา รตโนภาส (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ราตรี โพธิ์ระวัช (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
รองศาสตราจารย์อุมาพร ฉัตรวิโรจน์ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
อาจารย์ ดร.กฤช สอนกอง
อาจารย์ปรางทอง นนทะการ
อาจารย์วชากร นพนรินทร์ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
อาจารย์นเรศ ขำเจริญ (อาจารย์ผู้สอน)

บุคลากรสายสนับสนุน

นางสาวศิริพร เงินทอง

โครงสร้างหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

ตัวอย่างแผนการเรียน

ความภาคภูมิใจของเรา