หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เขียนโปรแกรมบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ออกแบบระบบเครือข่ายและควบคุม IOT

ชื่อย่อ
วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2565
อัปเดต
27/06/2024
จำนวนการรับนักศึกษาตามแผน
30 คน
คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
แผนการเรียน
ทุกแผนการเรียน
ผลการเรียนเฉลี่ย
ไม่กำหนด
ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
ไม่กำหนด
เกณฑ์การคัดเลือก
สัมภาษณ์
ค่าเทอม
9,400 - 10,300 บาท
ระยะเวลาเรียน
8 ภาคการศึกษา
จำนวนหน่วยกิต
121 หน่วยกิต
ประเภทการศึกษา
ภาคปกติ
ทุนการศึกษา
มี
กองทุนยืมเงินค่าเทอมแรกเข้า
มี
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
มี
ทุนการศึกษาระหว่างเรียน
มี
การประกันคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับอาเซียน (AUN QA)

จุดเด่นของหลักสูตร :

  • ส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย (Multi Skills)
  • ส่งเสริมความสามารถผู้เรียนตามสมรรถนะของตนเอง
  • เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง
  • ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีทักษะในศตวรรษที่ 21
  • ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการสู่ชุมชน
  • ติดตาม ดูแลนักศึกษาด้วยความใส่ใจ จนสำเร็จการศึกษา
  • มีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้และฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาอย่างกว้างขวาง
  • มีเครือข่ายสถานประกอบการที่รองรับบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามความต้องการของสถานประกอบการ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใคร :

  • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน/สาขา
  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. ด้านคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้ที่มีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ

เส้นทางอาชีพ :

  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์/โปรแกรมเมอร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
  • พนักงานสนับสนุนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Support)
  • นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก/นักพัฒนาสื่อและเนื้อหาดิจิทัล
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

  1. บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
  2. บัณฑิตมีองค์ความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ และตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
  3. บัณฑิตมีความสามารถในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสามารถใช้ปฏิบัติงานประจำและหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  4. บัณฑิตมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้น าหรือสมาชิกของกลุ่ม และมีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองในสาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
  5. บัณฑิตมีความสามารถในการศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สำหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง :

ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง
PLO1     มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
PLO2     ปรับตัว และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
PLO3     สื่อสารภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศได้
PLO4     เลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาค้นคว้าได้
PLO5     อธิบายความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
PLO6     ออกแบบระบบเครือข่ายพื้นฐานได้
PLO7     ประเมินระดับความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายได้
PLO8     เขียนโปรแกรมบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้
PLO9     จัดการฐานข้อมูลได้
PLO10    วิเคราะห์และออกแบบระบบได้
PLO11    พัฒนาเนื้อหาดิจิทัลได้
PLO12    วิเคราะห์การกระทำความผิดทางด้านคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินทางปัญญาได้
PLO13    นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีของนักศึกษา :

ชั้นปีที่ 1 

นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน หลักพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายเบื้องต้น หลักการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล นอกจากนั้นแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตต่องานที่ได้รับมอบหมาย 

ชั้นปีที่ 2 

นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ แพลตฟอร์มต่างๆ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบ ออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ออกแบบงานกราฟิก 2 มิติ สามารถออกแบบระบบเครือข่ายพื้นฐานได้ สามารถใช้สถิติพื้นฐาน และมีทักษะการใช้งานภาษาอังกฤษได้

ชั้นปีที่ 3 

นักศึกษาสามารถพัฒนาระบบบนแพลตฟอร์มต่างๆ สามารถหาความรู้จากกลุ่มข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพกราฟิก สามารถพัฒนาเนื้อหาดิจิทัล รวมถึงสามารถวิเคราะห์การกระทำความผิดทางด้านคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินทางปัญญาได้

ชั้นปีที่ 4 

นักศึกษาสามารถประเมินระดับความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำและหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีความสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาน มีทักษะด้านการสื่อสาร และนำทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างสรางสรรค์

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.ฆัมภิชา ตันติสันติสม
ผศ.พรหมเมศ วีระพันธ์
ผศ.ศิลป์ณรงค์ ฉวีพัฒน์
อาจารย์จินดาพร อ่อนเกตุ
อาจารย์พรนรินทร์ สายกลิ่น

บุคลากรสายสนับสนุน

โครงสร้างหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

    2. กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองและพลโลก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 

    3. กลุ่มวิชาเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 

    4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสุขภาพ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 

    และเลือกเรียนในกลุ่มวิชา 1 -  4 ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 85 หน่วยกิต

    1. กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต

    2. กลุ่มวิชาเอกบังคับ 45 หน่วยกิต

    3. กลุ่มวิชาเอกเลือก  ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

    4. กลุ่มวิชาทักษะภาษาและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต

    5. กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

ตัวอย่างแผนการเรียน

  • ชั้นปีที่ 1

    ภาคเรียนที่ 1 

    พลเมืองไทยในสังคมพลวัต         3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    วิทยาศาสตร์กับชีวิต                 3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    ภาษาอังกฤษพื้นฐาน                 3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์         3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    หลักพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    พื้นฐานซอฟต์แวร์                         3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    ภาคเรียนที่ 2

    ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทางวิชาการ 3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    ภูมิปัญญาและมรดกไทย             3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล สารสนเทศ และสื่อ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล         3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เศรษฐกิจดิจิทัล                 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    คอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบกราฟิก 2 มิติ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 1

  • ชั้นปีที่ 2

    ภาคเรียนที่ 1

    ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร         3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การออกแบบและบริหารฐานข้อมูล 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    ประสบการณ์ของผู้ใช้งานและการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เทคโนโลยีแพลตฟอร์มและการประมวลผลกลุ่มเมฆ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    หลักสถิติสำหรับคอมพิวเตอร์         3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 2

    ภาคเรียนที่ 2

    วิศวกรสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น   3 หน่วยกิต 3(1-4-4)

    การพัฒนาสุขภาวะเชิงบูรณาการ    3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์     3 หน่วยกิต 3(3-0-6)

    การจัดการเครือข่ายเบื้องต้น     3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การวิเคราะห์และออกแบบระบบ     3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การเขียนโปรแกรมเชิงวิชวล     3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 3

  • ชั้นปีที่ 3

    ภาคเรียนที่ 1 

    การพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บ     3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การออกแบบและพัฒนาเนื้อหาดิจิทัล  3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์  3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เทคโนโลยีไร้สายและการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่งผ่านอินเทอร์เน็ต  3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    วิทยาการข้อมูลเบื้องต้น  3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 4

    ภาคเรียนที่ 2

    ภาษาอังกฤษสำหรับคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การเขียนโปรแกรมภาษาสมัยใหม่ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การบูรณาการระบบและการจัดการโครงการ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ     3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

  • ชั้นปีที่ 4

    ภาคเรียนที่ 1

    หลักการด้านความมั่นคงของระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    หัวข้อปัจจุบันทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ 180 ชั่วโมง

    คลังข้อมูลและการทาเหมืองข้อมูล    3 หน่วยกิต 3(2-2-5)

    ภาคเรียนที่ 2

    การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ 450 ชั่วโมง

ความภาคภูมิใจของเรา