หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

ชื่อย่อ
วท.บ. (นวัตกรรมและธุรกิจอาหาร)
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2564
อัปเดต
18/01/2024
จำนวนการรับนักศึกษาตามแผน
25 คน
คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
-แผนการเรียน
รับทุกแผนการเรียนเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
-ผลการเรียนเฉลี่ย
ไม่กำหนด
-ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
ไม่กำหนด
เกณฑ์การคัดเลือก
สัมภาษณ์
ค่าเทอม
8,500 บาท
ระยะเวลาเรียน
7 ภาคการศึกษาปกติ และฝึกงาน 1 ภาคการศึกษา
จำนวนหน่วยกิต
127 หน่วยกิต
ประเภทการศึกษา
ภาคปกติ
ทุนการศึกษา
มี
กองทุนยืมเงินค่าเทอมแรกเข้า
มี
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
มี
ทุนการศึกษาระหว่างเรียน
มี
ทุนสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ
มี
หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
มี
การประกันคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับอาเซียน (AUN QA)

จุดเด่นของหลักสูตร :

  • การส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: หลักสูตรให้ความสำคัญเรื่องนวัตกรรมอาหารโดยเน้นที่การสร้างความคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ
  • ทฤษฎีและปฏิบัติทางธุรกิจ: หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในหลักการทางธุรกิจ รวมถึงการจัดการ การตลาด การเงิน การจัดการแหล่งข้อมูล และการวางแผนธุรกิจ
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร: การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคและเทคโนโลยีที่ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การเตรียม การจัดส่ง และการบริโภคอาหาร
  • ความปลอดภัยและมาตรฐานอาหาร: การเรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐานทางสุขภาพและความปลอดภัยของอาหาร รวมถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องและการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์: การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้างและปรับปรุงผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ รวมถึงการทดสอบสินค้าและการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค
  • การจัดการทรัพยากร: การสร้างความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรในอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการจัดการวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงคลัง และการจัดการการผลิต
  • ศึกษาอาหารทั่วโลก: มุ่งเน้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณี รสชาติ และวัฒนธรรมทางอาหารทั่วโลก ซึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์ในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ
  • ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ: การพัฒนาทักษะการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การสื่อสารกับลูกค้า และการนำเสนอความคิดเห็นในรูปแบบที่มืออาชีพ
  • การทำธุรกิจยั่งยืน: การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การทำธุรกิจที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และการทำธุรกิจที่ใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ฝึกอบรมและการสหกิจศึกษา: หลักสูตรให้ประสบการณ์ในสถานประกอบการจริง ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่จำลองเหมือนธุรกิจจริง ทำให้เตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพในอุตสาหกรรมอาหาร

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใคร :

  • ผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจอาหาร นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร นักวิชาการและนักวิจัยด้านนวัตกรรมอาหารและการตลาด
  • ผู้ที่ต้องการมีรายได้สูง และได้งานทำ 100%
  • ผู้ต้องการมีความรู้ ทักษะ ด้านการทำผลิตภัณฑ์อาหาร และธุรกิจอาหาร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานและปฏิบัติงานจริง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

เส้นทางอาชีพ :

  • ผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตอาหาร
  • นักการขาย นักการตลาดด้านธุรกิจอาหาร
  • ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและธุรกิจการบริการอาหาร
  • นักออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการบริการอาหาร
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
  • นักวิจัย ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • นักวิทยาศาสตร์ และนักวิขาการ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • นักโภชนาการ ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
  • ข้าราชครู ด้านอาหาร โภชนาการ อุตสาหกรรมเกษตร (โดยเรียนวุฒิใบประกอบวิชาชีพครู เพิ่ม 1 ปี)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

  1. เพื่อให้บัณฑิตสามารถสร้างนวัตกรรมอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
  2. เพื่อให้บัณฑิตประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำเนินงานธุรกิจอาหาร
  3. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อให้บัณฑิตมีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจอาหาร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง :

ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง
PLO 1 ปฏิบัติงาน เข้าร่วมกิจกรรม และเข้าสอบ ตรงเวลา ส่งงานครบถ้วน ไม่ทุจริต
PLO 2 ช่วยเหลือ รับฟังปัญหาหรือความคิดเห็นของอาจารย์และเพื่อน
PLO 3 อธิบายคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น
PLO 4 อธิบายความรู้พื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจอาหารได้
PLO 5 อธิบายกระบวนการการเป็นผู้ประกอบการ/รูปแบบการดําเนินธุรกิจอาหาร
PLO 6 ผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร
PLO 7 พัฒนานวัตกรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนในศตวรรษที่ 21
PLO 8 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารและด้านธุรกิจ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางอาหารและสร้างธุรกิจของตนเองได้
PLO 9 ปฏิบัติงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง แบ่งบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มได้เหมาะสมและเท่าเทียม อธิบายงานในส่วนตนเองได้ รับฟังความคิดเห็นหรือปัญหาของสมาชิกในกลุ่มและอาจารย์
PLO 1 0 นำความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ การใช้ภาษา การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปวิเคราะห์ ประมวลผล สร้างนวัตกรรมทางอาหารและการประกอบธุรกิจได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีของนักศึกษา :


ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม


ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและธุรกิจอาหาร และสามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัย


ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีจิตอาสา จิตสาธารณะ มีความรู้ มีภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิด วิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนานวัตกรรมอาหาร จากการเรียนรู้บูรณาการกับภาคธุรกิจอาหารขนาดย่อมและขนาดกลาง


ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และต่อยอดความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจอาหารต้นแบบของตนเองได้ และสามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสาร และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  




อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.บุณยกฤต รัตนพันธุ์
รศ.วชิระ สิงห์คง
ผศ.ดร.แดนชัย เครื่องเงิน
ดร.เอนก หาลี
ผศ.พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ
ดร.ชูเกียรติ เนื้อไม้

บุคลากรสายสนับสนุน

คุณสุจิตตรา เที่ยงสันเทียะ

โครงสร้างหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

    1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร            9       หน่วยกิต

    1.2 กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองและพลโลก       6       หน่วยกิต

    1.3 กลุ่มวิชาเทคโนโลยี            6       หน่วยกิต

    1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสุขภาพ      6       หน่วยกิต

         และเลือกเรียนในกลุ่ม 1.1 – 1.4         3       หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต

        2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ          19     หน่วยกิต

        2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ        53     หน่วยกิต

        2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก       12     หน่วยกิต

        2.4 กลุ่มวิชาประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา  7   หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

       3.1 กลุ่มวิชาเลือกเสรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย     6     หน่วยกิต

ตัวอย่างแผนการเรียน

  • ชั้นปีที่ 1

    ปีที่ 1 / ภาคการศึกษาที่ 1

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น          (ท-ป-อ) 

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    5071101

    วิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    4(3-3-7)

    5071106

    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเบื้องต้น

    3(2-3-5)

    5071501

    นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร

    3(2-2-5)

     

    รวม

    19 หน่วยกิต

    ปีที่ 1 / ภาคการศึกษาที่ 2

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น            (ท-ป-อ) 

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    5072101

    การบัญชีและการเงินเบื้องต้นสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    3(2-2-5)

    5071102

    คณิตศาสตร์และสถิติเบื้องต้นสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    3(2-3-5)

    5071103

    อาหารและโภชนาการ

    3(3-0-6)

     

    รวม

    18 หน่วยกิต

  • ชั้นปีที่ 2

    ปีที่ 2 / ภาคการศึกษาที่ 1

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น         (ท-ป-อ) 

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    4002251

    ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

    3(3-0-6)

    5071502

    การคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม

    3(2-2-5)

    5072201

    จุลชีววิทยาอาหาร

    3(2-3-5)

    5072301

    การแปรรูปอาหารและนวัตกรรม

    3(2-3-5)

     

    รวม

    18 หน่วยกิต

    ปีที่ 2 / ภาคการศึกษาที่ 2

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น           (ท-ป-อ) 

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาศึกษาทั่วไป

    3(x-x-x)

    5072202

    เคมีอาหาร

    3(2-3-5)

    5072701

    การประเมินทางประสาทสัมผัส

    2(1-2-3)

    5072901

    การเตรียมประสบการณ์ภาคสนามทางนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    1(021)

    5073601

    การจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอาหาร

    3(3-0-6)

    5073401

    กฎหมายอาหารและสุขาภิบาล

    3(2-3-5)

     

    รวม

    18 หน่วยกิต

  • ชั้นปีที่ 3

    ปีที่ 3 / ภาคการศึกษาที่ 1

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น            (ท-ป-อ) 

    5072603

    การตลาดสมัยใหม่สำหรับธุรกิจอาหาร

    3(3-0-6)

    5073101

    ภาษาอังกฤษสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    3(2-3-5)

    5073301

    เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารและการจัดการอายุการเก็บรักษา

    3(2-3-5)

    5073402

    การควบคุมและประกันคุณภาพอาหาร

    3(2-3-5)

    5073602

    กลยุทธ์ทางธุรกิจอาหาร

    3(3-0-6)

    xxxxxxx

    วิชาเฉพาะด้านเลือก

    3(x-x-x)

     

    รวม

    18  หน่วยกิต

    ปีที่ 3 / ภาคการศึกษาที่ 2

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น           (ท-ป-อ) 

    5073102

    การประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    3           (2-3-5)

    5073702

    การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

    3           (2-3-5)

    5073603

    การจัดการโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจอาหาร

    3               (2-2-5)

    xxxxxxx

    วิชาเฉพาะด้านเลือก

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาเลือกเสรี

    3(x-x-x)

     

    รวม

    15 หน่วยกิต


  • ชั้นปีที่ 4

    ปีที่ 4 / ภาคการศึกษาที่ 1

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น          (ท-ป-อ) 

    5073501

    การริเริ่มธุรกิจอาหาร

    3(2-2-5)

    5074701

    การวิจัยทางนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    3(2-2-5)

    xxxxxxx

    วิชาเฉพาะด้านเลือก

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาเฉพาะด้านเลือก

    3(x-x-x)

    xxxxxxx

    วิชาเลือกเสรี

    3(x-x-x)

     

    รวม

    15 หน่วยกิต

    ปีที่ 4 / ภาคการศึกษาที่ 2

    รหัสวิชา

    ชื่อวิชา

    น(ท-ป-อ) 

    5074901

     

    5074902

    การฝึกประสบการณ์ภาคสนามทางนวัตกรรมและธุรกิจอาหารหรือ

    สหกิจศึกษาทางนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร

    6            (0360)

     

    6            (0360)

     

    รวม

    6                   หน่วยกิต

ความภาคภูมิใจของเรา