หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มีภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม วิเคราะห์คุณภาพและออกแบบแนวทางการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ใช้สารสนเทศเป็นเครื่องมือวัดและประเมินผล และมีจิตสำนึกในการรับใช้ท้องถิ่นและประเทศชาติ

ชื่อย่อ
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2567
อัปเดต
31/10/2023
จำนวนการรับนักศึกษาตามแผน
30 คน
คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
แผนการเรียน
ทุกแผนการเรียน
ผลการเรียนเฉลี่ย
ไม่กำหนด
ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ
ไม่กำหนด
เกณฑ์การคัดเลือก
สัมภาษณ์
ค่าเทอม
8,500 บาท
ระยะเวลาเรียน
8 ภาคการศึกษา
จำนวนหน่วยกิต
ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต
ประเภทการศึกษา
ภาคปกติ
ทุนการศึกษา
กองทุนยืมเงินค่าเทอมแรกเข้า
มี
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
มี
ทุนการศึกษาระหว่างเรียน
มี
การประกันคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับอาเซียน (AUN QA)

จุดเด่นของหลักสูตร :

  • พหุวิทยาการด้านสิ่งแวดล้อม ที่จัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาตนเองจากการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ฝึกภาคสนาม และการทำงานในสถานการณ์จริง

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใคร :

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

เส้นทางอาชีพ :

  • นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานราชการ เอกชน องค์กรพัฒนา เอกชน และองค์กรท้องถิ่น
  • เจ้าหน้าที่ดูแลและตรวจสอบระบบควบคุมคุณสิ่งแวดล้อม บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างมลพิษ ในโรงงานอุตสาหกรรม
  • เจ้าหน้าที่ประจำบริษัท ในงานด้านส่งเสริมการขาย และบริการลูกค้าของบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือรับออกแบบติดตั้งระบบบำบัดมลพิษ และจำหน่ายสารเคมีที่ใช้ในระบบ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาคเอกชน และโรงงานอุตสาหกรรม
  • ผู้ช่วยนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ในงานราชการ สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภาคเอกชนที่มีส่วนงานการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ ในงานบริษัทที่ปรึกษาด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • ครูหรืออาจารย์ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  2. มีความรอบรู้ในศาสตร์สิ่งแวดล้อมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อย่างกว้างขวางและเป็น ระบบ และสามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ความรู้ในศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  4. มีทักษะในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ในทุกระดับอย่างเหมาะสม
  6. มีความสามารถด้านการวิจัย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง :

ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะทาง
PLO1 อสารองค์ความรู้โดยใช้เครื่องมือและภาษาที่เหมาะสม ทัั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
PLO2 มีภาวะผู้นำและทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามระเบียบของสังคม
PLO3 อธิบายความหมายของสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม
PLO4 วิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการและวฺิธีการมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
PLO5 วิเคราะห์กรณีศึกษาพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้
PLO6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินและวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม
PLO8 จัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ถูกต้องตามหลักการและวิธีการมาตรฐาน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีของนักศึกษา :

ชั้นปีที่ 1

1. มีความเข้าใจ และรอบรู้ในหลักการ ทักษะ และกระบวนการพื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
2. สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม
3. สามารถปรับตัวและปฏิบัติตามระเบียบของสังคม
4. เห็นคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ชั้นปีที่ 2

1. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. มีความรอบรู้ในหลักการ และทักษะการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
3. มีความรู้และความเข้าใจในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร
4. มีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ และยึดมั่นในจรรยาบรรณของนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ชั้นปีที่ 3

1. สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ และเป็นผู้ช่วยวิทยากรสามารถถ่ายทอดความรู้ผ่านกิจกรรมค่ายและกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการของสาขาวิชา
2. มีความรอบรู้ในหลักการ และทักษะการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงตามทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
3. มีการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและการบูรณาการข้ามศาสตร์
4. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์

ชั้นปีที่ 4

1. มีทักษะทางด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
2. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนไปใช้พัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน หรือชุมชนได้
3. สามารถประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิไลลักษณ์ สวนมะลิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรจงศักดิ์ ฟักสมบูรณ์
อาจารย์ ดร. อภิชญา พัดพิน
อาจารย์ ดร. พิมประไพ ขาวขำ
อาจารย์นพรัตน์ ไชยวิโน
ผศ.สุวิชญา บัวชาติ

บุคลากรสายสนับสนุน

นางสาวสุภาวดี พุทธศรี

โครงสร้างหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

  • โครงสร้างหลักสูตร รายวิชาและหน่วยกิต
    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต
           (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    ไม่น้อยกว่า    24  หน่วยกิต
             (2) หมวดวิชาเฉพาะ               ไม่น้อยกว่า  100    หน่วยกิต ประกอบด้วย
                  (2.1) กลุ่มวิชาแกน                                    18  หน่วยกิต
                 (2.2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ                           36  หน่วยกิต
                 (2.3) กลุ่มวิชาเอกเลือก      ไม่น้อยกว่า    25 หน่วยกิต
                 (2.4) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ      6 หน่วยกิต
                 (2.5) กลุ่มวิชาโท                ไม่น้อยกว่า     15 หน่วยกิต
            (3)  หมวดวิชาเลือกเสรี           ไม่น้อยกว่า      6 หน่วยกิต

ตัวอย่างแผนการเรียน

  • ชั้นปีที่ 1

    ภาคเรียนที่ 1

     ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 

    พลเมืองไทยในสังคมพลวัต

     ชีววิทยาทั่วไปและปฏิบัติการ 

     คณิตศาสตร์พื้นฐาน

     พื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

     เคมีทั่วไปและปฏิบัติการ

    ภาคเรียนที่ 2 

      ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

      วิทยาศาสตร์กับชีวิต 

      ฟิสิกส์ทั่วไปและปฏิบัติการ

      การสำรวจและการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม  

      เคมีสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติการ 

      การวางแผนและการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  • ชั้นปีที่ 2

    ภาคเรียนที่ 1

     ทักษะวิศวกรสังคม  
     ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล สารสนเทศ และสื่อ  
     มลพิษสิ่งแวดล้อม  
     ชีวเคมีสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติการ  
     เคมีอินทรีย์และปฏิบัติการ
    ภาคเรียนที่ 2 
     เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 
     รักษ์สิ่งแวดล้อม 
     เคมีวิเคราะห์และปฏิบัติการ  
     นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม  
     สถิติสำหรับการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  
     เทคโนโลยีสีเขียวสำหรับสิ่งแวดล้อม 

     


  • ชั้นปีที่ 3

    ภาคเรียนที่ 1

    มาตรฐานและการจัดการสิ่งแวดล้อม   

    อนามัยสิ่งแวดล้อม 

    การสำรวจทรัพยากรจากระยะไกล     

    การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและสถานประกอบการ  

    สัมมนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 

    เลือกวิชาโท จำนวน 6 หน่วยกิต

    ภาคเรียนที่ 2

    หลักการบูรณาการลุ่มน้ำ

    การจัดการและการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย

    ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม  

    เลือกวิชาโท จำนวน 6 หน่วยกิต 

    เลือกวิชาเลือกเสรี จำนวน 3 หน่วยกิต  

  • ชั้นปีที่ 4

    ภาคเรียนที่ 1

    เทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
    การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
    การวิจัยสิ่งแวดล้อม
    เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    เลือกวิชาโท จำนวน 3 หน่วยกิต
    เลือกวิชาเลือกเสรี จำนวน 3 หน่วยกิต

    ภาคเรียนที่ 2

         การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

     


     

ความภาคภูมิใจของเรา