1. ส่งเสริมการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของท้องถิ่น เช่น การแก้ปัญหา มลพิษทั้งหลายได้แก่ น้ำเสีย การทำลายดิน การทำลานสภาพแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ
2. ให้บริการท้องถิ่นในการจัดอบรมสัมมนา ความรู้ และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตาม สภาพแวดล้อม และความต้องการของท้องถิ่น
3. ให้บริการชุมชนทางด้านวิทยากร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การใช้ห้องปฏิบัติการ
4. ให้บริการข้อมูล
5. พัฒนากระบวนการทางวิชาการให้เป็นกระบวนการเชิงรุกในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน อย่างต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต
การพัฒนาการเรียนการสอนจะดำเนินการใน เรื่องต่อไป
1. การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาบุคลากรโดย
1.1 จัดหารอัตรากำลังอาจารย์เพิ่มในสาขาวิชาที่ขาดแคลน และเป็นความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งอัตรากำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการ
1.2 พัฒนาบุคลากรอาจารย์ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ โดยจัดอบรมเสริมความรู้และทักษะในการสอนและปฏิบัติงาน
1.3 จัดให้ไปศึกษาดูงาน เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ทั้งหลักสูตรระยะสั้น และระยะยาว ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
1.4 ให้โอกาสในการศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและเป็นความจำเป็น
2. การผลิตบัณฑิต ในการผลิตบัณฑิตจะเร่งรัดการพัฒนากำลังคนทาง ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจให้ดำเนินการดังนี้
2.1 ศึกษาปัญหาความต้องการของท้องถิ่นและร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
2.2 เร่งผลิตกำลังคนระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.3 ขยายการรับนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รวมทั้งปรับปรุงเนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสม ทันต่อความก้าวหน้า ทางวิชาการ โดยเน้นการเชื่อมโยงการเรียนภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้
2.4 ส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการ การต่างๆ ที่มีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจัดกิจกรรม ฝึกงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2.5 เน้นให้อาจารย์ทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อสร้างองค์งามรู้ใหม่ๆและการนำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน
2.6 เน้นการเรียนการสอนที่ใช้เครื่องมืออุปกรณ์และการใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
1. สนับสนุนให้มีการวิจัยในห้องทดลองเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ
2. สนับสนุนการวิจัยที่สามมารถนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท้องถิ่น เช่นการวิเคราะห์หาปริมาณสารพิษตกค้างในพืชผัก ชนิดต่างๆการวิเคราะห์หาสารปรอทในพืช บริเวณรอบอาคารสำนักงานการวิเคราะห์หาโลหะหนักบางตัวในน้ำดื่ม เป็นต้น
3. สนับสนุนการการวิจัยที่เข้าไปแก้ปัญหาท้องถิ่นโดยตรง โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอน โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4.8 คน โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่สอนแบบที่ปรึกษาให้กลุ่มกำหนดปัญหาแล้วลงไปแสวงหาทุนมาสนับสนุนการวิจัยและการวิจัยประยุกต์ในสถาบัน
4. ส่งเสริมโดยการแสวงหาแหล่งทุนมาสนับสนุนการวิจัย
5. สนับสนุนให้มีการได้นำเสนอรายงานวิจัยเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องและอาจเสริมแรงด้วยการให้รางวัลการวิจัยดีเด่น
6. ส่งเสริมให้มีการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์อันเป็นการบริการให้แก่บุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น
7. ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลที่เกิดจากผลงานวิจัยของสถาบัน แก่องค์กรต่างๆที่ขอความร่วมมือ
สนใจใช้บริการติดต่อ 055 - 706555 ต่อ 1652