หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)
ปรัชญา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค การตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การอาชีว อนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม และปัญหาสาธารณสุข เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรมตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
- มีความรู้ และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค การตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การอาชีว อนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม
- มีความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนได้
- มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
ระยะเวลาการศึกษา/จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี / ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
แนวทางการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
- นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ ในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
- นักวิชาการสุขาภิบาล
- นักบริหารโครงการด้านสุขภาพของหน่วยงานราชการและเอกชน
- นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัยด้านสุขภาพหรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
- นักพัฒนาสุขภาพขององค์กรพัฒนาเอกชน
- อาชีพอิสระด้านการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา/แผนการเรียนที่รับ
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์)
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 2.00
- วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
- GPAX ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 2.0 ขึ้นไป
จุดเด่นของหลักสูตรเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับบัณฑิต
จัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) เน้นหลักทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้จากสถานการณ์จริง
ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่เกิน (บาท/ภาคเรียน)
9,000 บาท / ภาคเรียน
กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์
- อบรมเชิงปฏิบัติการทางการพยาบาล เช่น การฉีดยา การเย็บแผล การตรวจมะเร็งปากมดลูกการตรวจมะเร็งเต้านม
- อบรมเชิงปฏิบัติการการแพทย์แผนไทย เช่น การนวดเท้า นวดตัวเพื่อสุขภาพ
- อบรมเสริมทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม
- อบรมเชิงปฏิบัติการทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น การเขียนหนังสือราชการ การจับจีบผ้า เป็นต้น
- จัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
โดยวิธีคัดเลือก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์/ประกาศการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
จำนวนผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร 30 คน
เราจะทำให้คุณเป็นบัณฑิต ที่มีคุณภาพ ดังนี้
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
- มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่จะนำมาอธิบายหลักการและทฤษฎีในศาสตร์เฉพาะ
- สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางด้านสาธารณสุขรวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
- มีความรู้ ในสาขาที่ศึกษาและศึกษาหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
- สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาในการดูแลสุขภาพ
- สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีเหตุผลตามหลักการ และวิธีการตามหลักวิชาการ
- สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่ดี มีความสามารถในการทำงานและแก้ปัญหากลุ่มได้
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สามารถใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอได้เหมาะสม
- มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้น ค้นคว้าแหล่งข้อมูลความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีความซื่อสัตย์ สุจริต และหรือจรรยาบรรณ
- มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ อดทน ขยัน
- มีความเสียสละ มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดี มีความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคมไทย และสังคมโลก